singapore financial hub inlps

“สิงคโปร์” ประเทศศูนย์กลางทางการเงิน

770 280 admin

“สิงคโปร์” ประเทศศูนย์กลางทางการเงิน

สิงคโปร์เป็นผู้นำโลกในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบันเทิง การเมืองและการท่องเที่ยว นอกจากนี้มีอีกหนึ่งสิ่งที่โดดเด่น นั่นคือการถูกขานนามว่าเป็นศูนย์กลางทางการเงิน หรือศูนย์กลางด้านการเงิน ซึ่งไม่เฉพาะการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเท่านั้น แต่สิงคโปร์ยังเป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลกเลยทีเดียว

 

ศูนย์กลางทางการเงินของโลก

อะไรทำให้สิงคโปร์ขึ้นมาเป็น Top 3 ด้านการเงินระดับโลกภายใน 50 ปี ทั้งนี้ในแง่การจัดอันดับไม่ได้หมายความว่าสิงคโปร์ตามหลังลอนดอนและนิวยอร์คเท่านั้น แต่ไม่กี่ปีสิงคโปร์ตามฮ่องกงทัน จนขึ้นมาเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชีย

 

ทำไมสิงคโปร์ถึงเป็นศูนย์กลางทางการเงิน

อะไรที่ทำให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง และเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการแข่งขันระดับโลก กลายตลาดสำคัญที่น่าลงทุนแห่งหนึ่งในสายตานักธุรกิจและนักลงทุนจากทั่วโลก ซึ่งการพัฒนาอย่างรวดเร็วของสิงคโปร์มีตัวเลขสถิติยืนยันด้วย สถาบันตรวจสอบบัญชีระดับโลกอย่างดีลอยต์ (Deloitte) จัดอันดับสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านความมั่งคั่ง (Wealth) อันดับ 6 ของโลก ขณะที่เดียวกันบริษัทตรวจสอบบัญชีบิ๊กโฟร์อย่างบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ หรือ PWC ได้จัดอันดับใน PWC’s Opportunity Index โดยให้สิงคโปร์เป็นอันดับ 2 ในด้านการเงืน อย่างไรก็ตามการติดท็อปอันดับต้น ๆ การจัดอันดับของสำนักตรวจบัญชีหรือบริษัทออดิทชื่อดังนั้น อาจจะไม่ได้เซอร์ไพร้ส์เท่าไหร่นัก เพราะเรามองว่าสักวันหนึ่งสิงคโปร์ก็ต้องขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลกอยู่แล้ว

 

อะไรทำให้สิงคโปร์เป็นตลาดที่น่าสนใจ?

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์น่าสนใจนั่นคือทำเลที่ตั้ง เนื่องจากจุดยุทธศาสตร์ของประเทศ อยู่ในเส้นการค้าที่ได้เปรียบ ในแง่ภูมิรัฐศาสตร์เกาะสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กและง่ายต่อการจัดการ ย้อนกลับไปในปี 1819 บริษัท อินเดียตะวันออก (West India Company) ใช้ท่าเรือสิงคโปร์เป็นท่าเรือหลักในการขนส่ง ระหว่างบริเตนกับอินเดีย

ซึ่งก่อนที่สิงคโปร์จะรุ่งเรืองจนเป็นศูนย์กลางที่มีบริการทางการเงิน และเป็นศูนย์กลางด้านการค้าเชิงพาณิชย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากความโดดเด่นด้านการเงินที่ครอบคลุมด้านประกันภัยและธนาคารแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่สร้างความดึงดูดให้กับนักลงทุนได้ นั่นก็คือการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาแมนดารินเป็นภาษาราชการ เพราะฉะนั้นด้วยปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้สิงคโปร์เป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนโดยตรง หรือการเข้ามาตั้งฐานธุรกิจในประเทศ

 

การจัดเก็บภาษีในสิงคโปร์

สิ่งที่โดดเด่นของการเป็นศูนย์กลางทางการเงิน นั่นก็คือการจัดเก็บภาษี ซึ่งทุก ๆ ปี การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รัฐบาลสิงคโปร์จะคำนวนในอัตราก้าวหน้าหรือภาษีแบบขั้นบันได โดยอัตราภาษีจะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทำให้สิงคโปร์เป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง เนื่องจากมีการจัดเก็บภาษีแบบเฉพาะ ซึ่งการจ่ายภาษีนั้นอยู่ในอัตรา 0-22%

ขณะเดียวกันระบบการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ก็มีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละประเภทธุรกิจ โดยคำนวณให้จ่ายเป็นรายปี เพราะฉะนั้นในภาพรวมการจัดเก็บภาษีการทำธุรกิจในสิงคโปร์ถือว่าดึงดูดนักลงทุนมาก เอื้อให้เกิดการลงทุนและสร้างเม็ดเงินต่อระบบเศรษฐกิจ

 

อันดับความยากง่ายการทำธุรกิจในสิงคโปร์

และนอกจากแรงจูงใจทางภาษีแล้ว ธนาคารโลก (World Bank) รายงานการจัดอันดับความยากง่ายการประกอบธุรกิจ (doing business) ในสิงคโปร์ว่าสะดวกต่อการประกอบธุรกิจมาก ๆ โดยอันดับ doing business สิงคโปร์ถูกจัดให้อยู่อันดับ 2 ของโลก ทั้งที่มีประชากรน้อยแค่ 5 ล้านคนเท่านั้น ทำให้สิงคโปร์มีความล้ำหน้าในด้านการจัดตั้งธุรกิจของนักลงทุนจากต่างประเทศ

Scenario ของสิงคโปร์ในปัจจุบัน

ทั้งนี้การจัดอันดับ The Global Financial Centres Index หรือ GFCI ซึ่งเป็นการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของศูนย์การเงินทั่วโลกกว่า 29,000 แห่ง จากแบบสอบถามออนไลน์ โดยวัดจากดัชนีที่เกี่ยวข้องหลายรายการ รวมกว่า 100 ดัชนี จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น World Bank องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development :OECD) เป็นต้น ได้จัดอันดับสิงคโปร์เป็นอันดับ 3 ของการเป็นศูนย์กลางทางการเงินโลก

โดยปัจจัยที่ทำให้สิงคโปร์ยืนอยู่แนวหน้านั้น มาจากการเตรียมความพร้อมและการเป็นตลาดใหม่ที่มีความทันสมัย ซึ่งหมายถึงการมีแพลตฟอร์ตฟินเทคและเทคโนโลยีบล็อคเชนอย่างในปัจจุบัน

ซึ่งแผนการพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลกนั้น เช่นเดียวกับการพัฒนาของนิวยอร์คที่ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางทางการเงิน โดยสิ่งสำคัญคือปัจจุบันสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านการเทรดเงินสกุลดิจิทัล หรือคริปโทเคอร์เรนซีของเอเชีย ขณะเดียวกันสิงคโปร์มีศักยภาพในการพัฒนาตลาดทุน อย่างในตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นสิงคโปร์ มีบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และทำการซื้อขายอยู่ประมาณ 800 บริษัท ทั้งบริษัทของชาวสิงคโปร์เองและบริษัทต่างชาติที่ไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นสิงคโปร์ ทั้งนี้ในด้านค่าเงิน แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนสิงคโปร์มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็นับว่าค่าเงินสิงคโปร์ยังมีเสถียรภาพเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก

และสุดท้ายในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ มีธนาคารที่เปิดดำเนินการทั้งหมด 120 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารท้องถิ่น 5 ธนาคาร และธนาคารระดับโลกอีก 2 ธนาคาร และนอกจากธุรกิจธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย์แล้ว ธุรกิจบริหารจัดการกองทุน (Asset Management) เองก็มีความโดดเด่น มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (Asset under Management) หรือมี AUM รวมประมาณ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD) จากการบริหารสินทรัพย์กว่า 250 รายการ ผ่านการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนแต่ละแห่ง โดยภาพรวมธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เติบโตไม่ต่ำกว่า 10%

Leave a Reply

Your email address will not be published.