เทคโนโลยี 5G ที่มาแรงในสิงคโปร์ และกระแสต่อต้าน Huawei
ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ในประเด็นทางเทคโนโลยีของทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี 5G ของ Huawei ,Nokia และ Ericsson ซึ่งเป็นคู่แข่งกัน ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง อย่างการใช้ 5G ของ Huawei ในสิงคโปร์นั้นถูกปฏิเสธจริงหรือไม่ เพราะปัจจุบัน Singtel กับ StarHub–M1 ตั้งบริษัทร่วมทุน (Join Venture) กับ Ericsson และ Nokia เพื่อพัฒนาเครือข่าย 5G แบบสแตนด์อโลน (Stand Alone) ในเมืองสิงคโปร์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ Mike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศว่า การที่หลาย ๆ ประเทศไม่ใช้อุปกรณ์ของ Huawei นั่นเป็นเพราะว่าแคมเปญต่อต้าน Huawei ในวอชิงตันนั้นได้ผล
ดังนั้นการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยี 5G ของผู้เล่นหรือผู้ขายรายอื่น สะท้อนว่า Huawei กำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ! อันดับแรกการพัฒนา 5G ของ Nokia และ Ericsson แทน Huawei ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้าน 5G ในตลาดโลก สะท้อนจุดยืนยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ ที่ยอมเลือกใช้บริการค่ายมือถือที่เป็นรองกว่า
นอกจากนี้การใช้บริการค่ายมือถือรายอื่นที่ไม่ใช่ Huawei ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าในมุมมองการค้าจากความร่วมมือของ Singtel-Ericsson และ StarHub-M1-Nokia มาจากความกังวลการเชื่อมต่อของฮาร์ดแวร์เทคโนโลยี 4G กับ 5G ที่ผลิตโดยบริษัทต่าง ๆ และถ้าพิจารณาในประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ในสมาชิกประชาคมอาเซียน สิงคโปร์ถือเป็นประเทศแกนนำในการสร้างความสมดุลในเชิงกลยุทธ์ของ 2 ประเทศอย่างสหรัฐ-จีน ซึ่งแทนที่สิงคโปร์จะต่อต้านการใช้อุปกรณ์ของ Huawei ก็ใช้บริการของคู่แข่งรายอื่น ในการพัฒนา 5G เพื่อลดการเผชิญปัญหาในเชิงยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศกับจีน
แม้ว่าองค์กรภาครัฐของสิงคโปร์ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาและกำกับดูแลสื่อสารสนเทศต่างๆ ภายในประเทศ (Infocomm Media Development Authority ; IMDA) จะมอบรางวัลให้แก่บริษัทโทรคมนาคมของสิงคโปร์ จากการพัฒนา 5G แต่การสร้าง Ecosystem ในทางธุรกิจที่ดี ควรมีผู้จัดจำหน่ายที่มีความสามารถพัฒนา 5G ที่หลากหลายได้ เพื่อสร้างความสมดุลแลการแข่งขันที่เป็นธรรมในทางการค้า
ดังนั้นการที่สิงคโปร์เปิดรับการพัฒนา 5G ของผู้ให้บริการรายอื่น นั่นไม่ได้หมายความว่าสิงคโปร์กำลังต่อต้าน Huawei ตามแคมเปญการต่อต้าน Huawei ในวอชิงตันแต่อย่างใด แต่การเปิดโอกาสให้ Nokia จากฟินแลนด์ และ Ericsson จากสวีเดน (ตามมาตรฐานของ IMDA) เป็นการสร้างความปลอดภัยของข้อมูล ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ให้เกิดขึ้นในสิงคโปร นอกจากนี้การเปิดตลาดให้คู่แข่งขันรายอื่นที่ไม่ใช่ Huawei เป็นการเพิ่มอัตราต่อรองทางการค้าให้กับบริษัทอื่น ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ออกผลิตภัณฑ์ที่ราคาไม่แพงมาก อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะไม่ใช่การต่อต้าน Huawei โดยตรง แต่การยอมรับคู่แข่งรายอื่นในตลาด ก็เป็นการลดโอกาสการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ของ Huawei
การแบน Huawei ของสหรัฐ
อันดับแรกวอชิงตันเสนอให้เงินสนับสนุนการซื้อสินค้าจากผู้ขาย 5G ที่ไม่ใช่ของจีน ในบราซิลและที่อื่น ๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยเงื่อนไขที่มาของเงินทุนสนับสนุน มาจาก US International Finance Development Corporation หรือจากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งการสนับสนุนให้ใช้การพัฒนา 5G ของผู้เล่นรายอื่นที่ไม่ใช่ Huawei เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับ Nokia และ Ericsson โดยเฉพาะในตลาดที่ราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
ประการที่ 2 การคว่ำบาตรรอบใหม่ของสหรัฐ ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ของ Huawei ในซัพพลายเชนอื่น ๆ ซึ่งอาจจะกระทบกับการส่งออกนำเข้าของญี่ปุ่นด้วย จากความสัมพันธ์การค้าสหรัฐ-ญี่ปุ่น
นอกจากนี้การคว่ำบาตรจีน รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฎบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีสหรัฐที่ต้องใช้ชิปนอกประเทศ ซึ่งรวมการใช้ชิปจาก Huawei จะต้องขออนุญาตก่อน ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแบนบริษัทจีน ความเสี่ยงอยู่ที่การบำรุงรักษาสินค้า ซึ่งมีกรอบเวลา 12 เดือน ทำให้ซัพพลายเออร์ต้องผลิตสินค้าล่วงหน้า ทางโรงงานผู้ผลิตจึงต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต ทำให้การหาซัพพลายเออร์รายอื่นที่ทางเลือกอาจใช้เวลาหลายปี แม้ว่าจะคาดว่ากำลังการผลิตจะเพียงพอต่อการใช้งานในประเทศ อย่างไรก็ตามการคว่ำบาตรนี้ไม่สำคัญเท่าไร หากกลับไปที่ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของสหรัฐ ซึ่งมีโอกาสในการเป็นผู้นำระดับโลก ซึ่งข้อห้ามความร่วมมือระหว่างวิศวกรสหรัฐฯ -จีนในการกำหนดมาตรฐาน 5G ทั่วโลก ถูกยกเลิกด้วยเหตุผลเดียวกัน จากการคว่ำบาตรทางการค้า แต่ปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้น ต่างกับ Huawei ที่ยังคงถูกเล่นงานต่อเนื่องในปัจจุบัน
แม้ว่า Huawei จะต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนในต่างประเทศ จากการคว่ำบาตรของสหรัฐ แต่ผลประกอบการของ Huawei ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจนน่าเป็นกังวล เนื่องจากยอดขายในประเทศจีนไม่ได้รับผลกระทบ แต่ถ้าไม่ได้ดูในประเด็นต้นทุนสินค้า การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้ Huawei ไม่สามารถสร้างหรือดูแลเครือข่ายได้ตั้งแต่แรก เพราะบางประเทศก็ต่อต้านการใช้สินค้า Huawei ตามแคมเปญวอชิงตัน สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ในสิงคโปร์เอง แม้ว่าจะไม่ได้มีการต่อต้าน Huawei ก็จริง แต่ความสามารถในการแข่งขันของ Huawei ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อ ecosystem จึงทำให้ Nokia และ Ericsson มีความโดดเด่นมากขึ้นในอาเซียน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากการมีคู่แข่งหลายรายจะสร้างความหลากหลายให้กับตลาด
ความสัมพันธ์ของประเทศในอาเซียนกับทั้งจีนและสหรัฐ มีความผูกพันในเชิงโครงสร้างระบบโทรคมนาคมแตกต่างกับประเทศอื่น ๆ ในฝั่งยุโรป เช่นในฟิลิปปินส์ บริษัทโทรคมนาคมบางแห่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐวิสาหกิจของจีนเช่น China Telecom การต่อต้านการใช้ Huawei จึงอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ก็ย่อมรักษาความสัมพันธ์กับจีน จึงไม่ค่อยมีการแบนสินค้าและอุปกรณ์ Huawei ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของสิงคโปร์เองก็เช่นกัน ไม่ได้ต่อต้านการใช้อุปกรณ์ Huawei เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับ 5G จากผู้ค้าหลายราย ดังนั้นเราจึงจะเห็นการพัฒนา 5G ของ Huawei ในภูมิภาค
การพัฒนาดิจิทัล นอกจากจะเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 แล้ว ในปัจจุบันการระบาดของโรคไวรัส Covid-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งการพัฒนาดิจิทัลให้เกิดขึ้นในอาเซียน ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอาเซียน จะไม่มีการผูกขาดการใช้งานของเวนเดอร์รายใดรายหนึ่ง เพราะแต่ละประเทศต่างให้ความสำคัญคือการพัฒนาด้านดิจิทัล ทั้งจากการใช้เทคโนโลยีของจีนและไม่ใช่เทคโนโลยีของจีน เช่นการพัฒนา RAN หรือ O-RAN ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ระบบเปิด โดยใช้ 5G ร่วมกัน เพราะทั้งในสิงคโปร์และประเทศในอาเซียน ต่างให้น้ำหนักไปที่การพัฒนา 5G และเศรษฐกิจดิจิทัลมากกว่าการเลือกที่จะแบนบริษัทจากจีน เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีนั้นสำคัญกว่า
Leave a Reply